ข้อมูลชุมชน บ้านพะกะเช
บ้านพะกะเชก่อตั้งเมื่อประมาณ 80 ปี โดยนายพะกะเช เป็นผู้นำในการก่อสร้างครั้งแรก ที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พิกัด mv 389131 แผนที่ระวาง 46431 easting = 43490 norting = 1913469 สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านปิยอทะหมู่ที่ 13 และ แม่ขุนตื่นน้อย หมูที่ 3 ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย
- ทิศตะวันออก ติดกับ ลำน้ำแม่ตื่น
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านบราโกร หมู่ที่ 15 ตำบลแม่ตื่น
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านหัวโล๊ะ ,บ้านหม่าโอโจ และ บ้านเด๊ะบือเซทะ หมู่ที่ 11 ตำบลแม่ตื่น
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูง ตั้งบ้านเรือนตามไหล่เขา
สภาพเศรษฐกิจ
ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่ มีอาชีพ ทำไร่ข้าว ข้าวโพด ทำนา เลี้ยงสัตว์
การคมนาคม
– ถนนลาดยางจาก อ.อมก๋อย ถึง ต.แม่ตื่น 76 กม.
– ทางเดินตามไหล่เขา 60 กม.
ศาสนา/ความเชื่อ
– พุทธ , ผี ( 85 เปอร์เซ็นต์)
– คริสต์ ( 15 เปอร์เซ็นต์)
ข้อมูลประชากร
- จำนวนหลังคาเรือน 62 หลังคาเรือน
- จำนวนครัวเรือน 69 ครัวเรือน
- จำนวนประชากร 290 คน
- จำนวนประชากรชาย 153 คน
- จำนวนประชากรหญิง 137 คน
จำนวนประชากรที่ประกอบอาชีพแยกเป็น
- ทำไร่ 47 ครอบครัว
- ทำนา 21 ครอบครัว
- รวม 68 ครอบครัว
การศึกษา
ระดับการศึกษาของหัวหน้าครอบครัวจะไม่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นส่วน ส่วนสมาชิกในครอบครัวที่เป็นแม่บ้านซึ่งมีอายุ 40 ปี ขึ้นไปจะไม่ค่อยได้รับการศึกษา ส่วนที่อายุต่ำกว่า 40 ปีโดยส่วนมากประมาณ ร้อยละ 70-80 กำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาและเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเรียนจะได้รับการศึกษาจาก โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรางวัลอินทิรา คานธี และบางส่วนเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนแม่ตื่น และโรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว
ภาษา
ภาษาที่ชาวบ้านใช้สื่อสารด้วยกันเอง และใช้ติดต่อสื่อสารกับคนภายนอกรวมถึงหน่วยงานราชการแบ่งได้เป็น ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไทย ดังนี้
- ภาษากะเหรี่ยง เป็นภาษาที่ชาวบ้านใช้พุดคุยติดต่อสื่อสารกันของคนเผ่าเดียวกันรวมไปถึงในพิธีกรรมต่าง ๆ
- ภาษาคำเมือง เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวเหนือที่ชาวบ้านใช้พูดคุยกับคนในพื้นที่ภาคเหนือหรือคนที่พูดคำเมืองได้
- ภาษากลาง เป็นภาษาที่ชาวบ้านใช้พูดคุยกับบุคคลทั่วไปที่ไม่สามารถพูดภาษาเหนือได้หรือใช้ติดต่อกับหน่วยงานราชการ
อาชีพ
อาชีพหลักของชาวบ้าน คือ การทำการเกษตร เช่น การปลูกข้าว โดยใน 1 ปีชาวบ้านจะทำนา 1 ครั้ง ผลผลิตที่ได้จะเก็บไว้บริโภคเองภายในครัวเรือน การปลูกไม้ผล ผักสวนครัว อาทิ ผักกาด พริก มะเขือ ถั่ว จะทำตลอดปี ผลผลิตที่ได้จะแบ่งขายภายในชุมชน และเก็บไว้บริโภคใน
อาชีพรอง คือ การรับจ้างในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ได้แก่ ในฤดูการเพาะปลูก ชาวบ้านอาจจะรับจ้างทำนาของชาวบ้านด้วยกันเองนอกจากการลงแขกกันของชาวบ้าน ส่วนด้านการค้าขายของชำเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน มี 1 ร้าน
ผู้นำชุมชน
- นายตึแฮ ยศยิ่งอภิราม เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ระบบสาธารณูปโภค
- การรักษาพยาบาลที่สถานีอนามัยบ้านทุ่งต้นงิ้ว ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 8 กิโลเมตร การเดินทางยากลำบาก หรือเดินทางไปรักษาพยาบาลที่สาธารณสุขแม่ตื่น และที่โรงพยาบาลอมก๋อย
- น้ำดื่มน้ำใช้ ชุมชนใช้น้ำจากถังประปาภูเขา ซึ่งสร้างอยู่บนเนินเขาทางเหนือสุดของหมู่บ้าน มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภคตลอดปี
- การใช้ห้องน้ำของชาวบ้าน ในชุมชนมาห้องน้ำ ร้อยละ 50
- ระบบการไฟฟ้าใช้เป็นโซล่าเซลล์มีเพียงร้อยละ 30เท่านั้น
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านพะกะเช
ศศช.บ้านพะกะเช เดิมสังกัดศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้ง เมื่อ พุทธศักราช 2538 พิกัด MV 389134 หมู่ที่ 11 ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
เนื่องจากอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ยังจัดการการศึกษาไม่ทั่วถึงทำให้ยากต่อการพัฒนาและมีปัญหาด้านความมั่นคงตามมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชกระแส ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ขึ้นแทนศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงบ้านพะกะเช โดยทำการมอบโอนเมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2550
ปัจจุบันตามนโยบายและแนวปฎิบัติการจัดการศึกษาสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริร่วมกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรางวัลอินทิราคานธีเป็นเอกภาพ ได้ทำการกำหนดพื้นที่การดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนด และสำรวจช้อมูลพื้นฐานของชุมชน เพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายการจัดการศึกษา ได้แก่กลุ่มผู้ไม่รู้หนังสือ กลุ่มผู้เรียนด้านอาชีพ กลุ่มเป้าหมายการส่งเสริมการอ่าน สถานศึกษาได้กำหนดวางแผนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกระบบให้กลุ่มเป้าหมายร่วมกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรางวันอินทิรา คานธี ในด้านทรัพยากรของชุมชนร่วมกัน ใช้อาคารสถานที่ในโรงเรียนนอกเวลาเรียนทำการเรียนการสอน สอนวิชาชีพ พบกลุ่มผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานและเป็นสถานที่นัดหมายในการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ